โคราชจีโอพาร์ค (KORAT Geopark) อุทยานธรณีแห่งที่ 4 ของโลก
จากการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก ครั้งที่ 216 (216th session of the Executive Board) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 24 พฤษภาคม ที่องค์การยูเนสโก สำนักงานใหญ่ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้มีมติรับรองให้ “โคราชจีโอพาร์ค” (KHORAT Geopark) เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) ส่งผลให้จังหวัดนครราชสีมา กลายเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย เป็นเมืองที่ 4 ของโลกต่อจากประเทศอิตาลี เกาหลีใต้ และจีน
โคราชนับได้ว่าเป็นเมืองแห่งศักยภาพที่พร้อมเติบโตทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ สังคม ได้รับการยกย่องมากมาย และยังเป็น “เมือง 3 มรดกโลกยูเนสโก”
อีกทั้งนี้จะมีงานใหญ่ระดับโลกอีกงานในจังหวัดนครราชสีมา นั้นก็คือ มหกรรมพืชสวนโลกในปี 2029 ที่จะทำให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาเยี่ยมชมงานนี้ 2-4 ล้านคน
“มหกรรมพืชสวนโลกโคราช 2029” คืออะไร และ สำคัญอย่างไรความภูมิใจของชาวโคราช คลิกอ่าน
เครดิตภาพและข้อมูล
https://khoratgeoparkguide.human.nrru.ac.th/lessons/en/unit-en0104.php
จีโอพาร์ค (Geopark) คืออะไร
KORAT GEO PARK
จีโอพาร์ค (Geopark) หรืออุทยานธรณี เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่นมีแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งในด้านการอนุรักษ์ การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากล่างสู่บน (bottom-up) เชื่อมโยงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ทำให้จังหวัดนครราชสีมา เป็น Korat The UNESCO Triple Heritage City รวม 3 แห่ง ประกอบด้วย 1) มรดกโลก (World Heritage) ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 2) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช และ 3) โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark)
ที่มาจากเพจ https://www.sdgmove.com/2023/05/23/unesco-khorat-geopark/
จีโอพาร์ค (Geopark) หรืออุทยานธรณี เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่นมีแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งในด้านการอนุรักษ์ การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากล่างสู่บน (bottom-up) เชื่อมโยงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
สรุป จีโอพาร์ค (GEO PARK) คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโปรแกรมหนึ่งของทางองค์การยูเนสโก ได้กำหนดขึ้น แหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่ง ธรรมชาติอื่นและวัฒนธรรม
ที่มาจากเพจ https://www.sdgmove.com/2023/05/23/unesco-khorat-geopark/
ขอบคุณและดาว์นโหลดข้อมูล Korat GEO Park
โคราชจีโอพาร์ค (KORAT GEO PARK) คืออะไร
เมื่อขับรถเข้าสู่ประตูอีสาน จะเริ่มมีป้ายบอกว่า โคราชจีโอพาร์ค (KORAT PARK) ทำให้เกิดความสงสัยหลายครั้งว่าคืออะไร และ สำคัญอย่างไร ต่อประเทศไทยและจังหวัดนครราชสีมา สำคัญต่อการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และ ประวัติศาสตร์ อย่างไร เหตุใดถึงได้เป็น อุทยานธรณีแห่งที่ 4 ของโลก !
โคราชจีโอพาร์ค
คือ เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ภูมิประเทศและแหล่งธรณีวิทยามีคุณค่าในระดับนานาชาติ รวมทั้งแหล่งธรรมชาติอื่นมีแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยา และมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม ทั้งในด้านการอนุรักษ์ การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากล่างสู่บน (bottom-up) เชื่อมโยงความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ทำให้จังหวัดนครราชสีมา เป็น
Korat The UNESCO Triple Heritage City รวม 3 แห่ง ประกอบด้วย
1) มรดกโลก (World Heritage) ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
2) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสะแกราช และ
3) โคราชจีโอพาร์ค (KHORAT Geopark)
ที่มาจากเพจ https://www.sdgmove.com/2023/05/23/unesco-khorat-geopark/
โคราชจีโอพาร์คอยู่ตรงไหนบ้างและพื้นที่ไหนถึงเรียกว่า จีโอพาร์ค GEO PARK
ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำภอต่อเนื่องกันในบริเวณลุ่มน้ำลำตะคองตอนกลางถึงตอนล่าง คือ
- อำเภอเมือง
- อำเภอสีคิ้ว
- อำเภอสูงเนิน
- อำเภอขามทะเลสอ
- และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
มีภูมิประเทศเขาเควสตา (เขารูปอีโต้) และฟอสซิล 3 ยุค ได้แก่ ยุคครีเทเชียส ยุคนีโอจีน และยุคควอเทอร์นารี ซึ่งมีความแตกต่างจากจีโอพาร์คโลกที่มีอยู่ 147 แห่งทั่วโลก คือ เป็นดินแดนแห่งเควสตาและ ฟอสซิล (Cuesta & Fossil Land)
การประกาศรับรองดังกล่าว ยูเนสโกต้องการให้เกิดการอนุรักษ์บรรพชีวิตและธรณีวิทยา โดยให้ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและพัฒนาก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในเชิงธรณีวิทยาและเชิงวัฒนธรรม เกิดการสร้างงานใหม่ มีการสร้างหลักสูตรการอบรมที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจีโอพาร์ค อาจกลายเป็นแหล่งรายได้เสริมใหม่ของชุมชน ผ่านการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ ขณะเดียวกัน ทรัพยากรทางธรณีวิทยาก็ได้รับ การปกป้องและอนุรักษ์ไปด้วยพร้อมกัน
อุทยานธรณีแห่งที่ 4 ของโลก
เมือง 3 มรดกโลกยูเนสโก
อุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย (ก่อนหน้านี้คือ จ.สตูล)
แหล่งธรณีวิทยา (Geological Site) คือ อะไร
การส่งเสริมการพัฒนาโคราช
- การเป็นเมืองไมซ์ (Mice City)
- เมืองจีโอพาร์ค (Geo City)
- เมืองมรดกโลก (World Heritage)
- เมืองศิลปะ (Art and Culture City)
แหล่งหิน ดิน แร่ ฟอสซิล หรือลักษณะภูมิประเทศ เช่น
- พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน บ่อทราย พระพุทธ (แหล่งฟอสซิลช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ)
- กุมภลักษณ์ (หลุมรูปหม้อ)
- มอจะบก (อ.สีคิ้ว)
- พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์โคกสูง (อ.เมืองฯ)
- ผายายเที่ยง (เขารูปอีโต้ อ.สีคิ้ว)
- บ่อดินโป่งแดง (อ.ขามทะเลสอ)
- บ่อเกลือหนองสรวง (อ.ขามทะเลสอ)
- น้ำตกวังเณร (อ.สูงเนิน)
โคราชจีโอพาร์ค ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ธรรมชาติ และวัฒนธรรม
35 แหล่ง
- ธรณีวิทยา 15 แหล่ง
- ธรณีวิทยา-ธรรมชาติ-วัฒนธรรม 4 แหล่ง
- ธรณีวิทยา-วัฒนธรรม 3 แหล่ง
- ธรรมชาติ 3 แหล่ง
- ธรณีวิทยา-ธรรมชาติ 2 แหล่ง
- วัฒนธรรม 8 แหล่ง
โคราชมหานครแห่งบรรพชีวิน ถิ่นอุทยานธรณีของโลก
แหล่งฟอสซิลจำนวนมากมีถึง 3 ยุค
ด้านตะวันตก
ในตำบลโคกกรวด สุรนารี เป็นแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ของโลกถึง 4 ชนิด และสัตว์ร่วมยุคในยุคครีเทเชียส (110 ล้านปี)
ด้านเหนือ
ในตำบลโคกสูง เป็นแหล่งฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ยุคควอเทอร์นารี(0.2 ล้านปี) ถึง 15 ชนิดหรือหนาแน่นที่สุดในอาเซียน
ด้านตะวันออก
ในตำบลท่าช้างและพระพุทธ เป็นแหล่งฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์มากที่สุดในโลกถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลที่
พบทั่วโลกในยุคนีโอจีน-ควอเทอร์นารี (16-0.01 ล้านปี) รวมทั้งสัตว์พืชอื่นทั้งหมดกว่า 30 ชนิด
ด้านใต้
ในท้องที่ตำบลไชยมงคลจนถึงหนองระเวียง เป็นแหล่งฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน
โคราชจีโอพาร์ค มีเอกลักษณ์ที่ได้ชื่อว่า “ดินแดนแห่งเควสตาและฟอสซิล” หรือ “Cuesta and Fossil Land”
พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน https://www.khoratfossil.org/khoratfossil/index.php/th/
1. แหล่งฟอสซิลสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลก 9 ชนิด และแหล่งฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์มากที่สุดของโลก (10 สกุลใน 55 สกุลของโลก) ในเขตอำเภอเมืองฯ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
2. ภูมิประเทศเขาเควสตา (Cuesta) หรือเขารูปอีโต้กว่า 20 เขา ในเขตอำเภอสีคิ้ว-สูงเนิน
เควสตา (Cuesta) คือ อะไร
เป็นภาษาสเปน หมายถึง ไหล่ หรือ ลาด ในทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยา คือ เขาหรือภูเขาที่มีรูปร่าง คล้ายมีดอีโต้ โดยเมื่อมองจากด้านข้างตามแนวเทของชั้นหิน จะเห็นไหล่เขาด้านหนึ่งชัน (ด้านผาชัน หรือ Escarpment) และด้านหนึ่งลาด (ด้านลาดตามแนวเท หรือ Dip Slope) ปกติด้านลาด จะลาด เอียงจากแนวระดับไม่เกิน 20 องศา เขาเควสตาในเขตอำเภอสีคิ้ว-สูงเนิน ส่วนใหญ่จะลาดเอียงอยู่ ในช่วง 6-10 องศา
ตัวอย่าง เขาเครสต้า
- อำเภอสีคิ้ว เช่น เขายายเที่ยง
- อำเภอสูงเนิน เช่น เขาภูผาสูง
แนวเขาเควสตาของหมวดหินทรายที่ต้านทานต่อการสึกกร่อนผุพัง (หมวดหินพระวิหารและหมวด
หินภูพาน) เป็นเขารูปอีโต้ ก่อตัวตั้งแต่ประเทศลาว-ไทย-กัมพูชา ความสูงอยู่ในช่วง 400-1,000 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ความยาวรวมมากกว่า 1,700 กิโลเมตร จัดเป็นเขาเควสตาที่ยาวที่สุดแห่ง
หนึ่งของโลก และส่วนใหญ่วางตัวเป็นขอบที่ราบสูงโคราชทางด้านตะวันตกและด้านใต้ และส่วนหนึ่ง
(60 กม.) วางตัวบริเวณขอบหรือใกล้ขอบของพื้นที่ด้านตะวันตก-ตกเฉียงใต้ของโคราชจีโอพาร์ค
การใช้ประโยชน์ที่ดินที่จำเพาะหรือพิเศษของเควสตาในโคราชจีโอพาร์ค
1. ศักยภาพในการผลิตพลังงานสีเขียว (พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานน้ำที่ได้จากกังหัน ลมและอ่างพักน้ำตอนบนของเขายายเที่ยง)
2. ศักยภาพเป็นที่ตั้งสถานีส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ (เขายายเที่ยง : สถานีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทย ช่อง 11, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3)
3. พื้นที่ป่าดิบแล้ง พื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เกษตรที่ สูง พื้นที่แหล่งน้ำซับ (ทำประปาภูเขา เช่น เขาพริก)
4. พื้นที่แหล่งฟอสซิล : ไม้กลายเป็นหินยุคไดโนเสาร์ (บ้านเขายายเที่ยงใต้) ฟอสซิลร่องรอยรูชอนไช (วัดป่าภูผาสูง)
5. แหล่งท่องเที่ยว-กีฬา-นันทนาการในที่สูง (จุดชมวิวเขายายเที่ยง กีฬาร่มร่อนเขาสะเดา กีฬาปีนหน้า ผาบุคา กีฬาวิ่งฮาล์ฟมาราธอนลอยฟ้าเขายายเที่ยง กีฬาวิ่งเทรลดงมะไฟ ท่องเที่ยว Adventure เขตเขาเควสตา)
ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคมของจีโอพาร์ค คือ อะไร
สร้างงาน อาชีพ และรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น เช่น การจำหน่ายผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของแหล่ง ท่องเที่ยวจีโอพาร์ค การบริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น ไกด์ ที่พัก ร้านอาหาร ยานพาหนะ หรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐและเอกชน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา โรงแรม รีสอร์ท ในแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
ขอขอบคุณและเครดิตข้อมูลจาก